............................

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

บริการต่างๆ บนอินเตอร์เน็ต

บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต
1. เวิลด์ไวด์เว็บ (WWW)
 เวิลด์ไวด์เว็บ หรือเครือข่ายใยแมงมุม เหตุที่เรียกชื่อนี้เพราะว่าเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงข้อมูล จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเรื่อยๆ เวิลด์ไวด์เว็บ เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในการเรียกดูเว็บไซต์ต้องอาศัยโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ในการดูข้อมูล เว็บเบราว์เซอร์ที่ได้รับความนิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น โปรแกรม Internet Explorer (IE) , Netscape Navigator

2 จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail)
การติดต่อสื่อสารโดยใช้อีเมลสามารถทำได้โดยสะดวก และประหยัดเวลา หลักการทำงานของอีเมลก็คล้ายกับการส่งจดหมายธรรมดา นั้นคือ จะต้องมีที่อยู่ที่ระบุชัดเจน ก็คือ อีเมลแอดเดรส (E-mail address)
องค์ประกอบของ e-mail address ประกอบด้วย
1.       ชื่อผู้ใช้ (User name)
2.       ชื่อโดเมน
Username@domain_name

การใช้งานอีเมล สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ
1. Corporate e-mail คือ อีเมล ที่หน่วยงานต่างๆสร้างขึ้นให้กับพนักงานหรือบุคลากรในองค์กรนั้น เช่น   u47202000@dusit.ac.th   คือ e-mail ของนักศึกษาของสถาบันราชภัฏสวนดุสิต เป็นต้น
2. Free e-mail คือ  อีเมล ที่สามารถสมัครได้ฟรีตาม web mail ต่างๆ เช่น
Hotmail, Yahoo Mail, Thai Mail และ  Chaiyo Mail


3. บริการโอนย้ายไฟล์ (File Transfer Protocol)
เป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับการโอนย้ายไฟล์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต การโอนย้ายไฟล์สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ
1.        การดาวน์โหลดไฟล์ (Download File )
การดาวน์โหลดไฟล์ คือ การรับข้อมูลเข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ในปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่จัดให้มีการดาวน์โหลดโปรแกรมได้ฟรีเช่น www.download.com
2. การอัพโหลดไฟล์ (Upload File)
การอัพโหลดไฟล์คือการนำไฟล์ข้อมูลจากเครื่องของผู้ใช้ไปเก็บไว้ในเครื่องที่ให้บริการ (Server) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น กรณีที่ทำการสร้างเว็บไซต์ จะมีการอัพโหลดไฟล์ไปเก็บไว้ในเครื่องบริการเว็บไซต์ (Web server ) ที่เราขอใช้บริการพื้นที่ (web server) โปรแกรมที่ช่วยในการอัพโหลดไฟล์เช่น FTP Commander 

4 บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต (Instant Message)
การสนทนาบนอินเทอร์เน็ตคือ การส่งข้อความถึงกันโดยทันทีทันใด นอกจากนี้ยังสามารถส่งสัญลักษณ์ต่างๆ อาทิ รูปภาพ ไฟล์ข้อมูลได้ด้วย การสนทนาบนอินเทอร์เน็ตเป็นโปรแกรมที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน โปรแกรมประเภทนี้ เช่น โปรแกรม ICQ            (I seek you) MSN Messenger, Yahoo Messenger เป็นต้น
                               
5 บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
1. Web directory คือ การค้นหาโดยการเลือก Directory ที่จัดเตรียมและแยกหมวดหมู่ไว้ให้เรียบร้อยแล้ว website ที่ให้บริการ web directory   เช่น  http://www.yahoo.com/, www.sanook.com
2.  Search Engine  คือ การค้นหาข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Search โดยการเอาคำที่เราต้องการค้นหาไปเทียบกับเว็บไซต์ต่างๆ ว่ามีเว็บไซต์ใดบ้างที่มีคำที่เราต้องการค้นหา
website ที่ให้บริการ search engine  เช่น  http://www.yahoo.com/, http://www.sanook.com/, http://www.google.co.th/, http://www.sansarn.com/
                3. Metasearch คือ การค้นหาข้อมูลแบบ Search engine แต่จะทำการส่งคำที่ต้องการไปค้นหาในเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลอื่นๆ อีก ถ้าข้อมูลที่ได้มีซ้ำกัน ก็จะแสดงเพียงรายการเดียว เว็บไซต์ที่ให้บริการ Metasearch เช่น www.search.com, http://www.thaifind.com/

 

6 บริการกระดานข่าวหรือ เวบบอร์ด (Web board)
เว็บบอร์ด เป็นศูนย์กลางในการแสดงความคิดเห็น มีการตั้งกระทู้ ถาม-ตอบ ในหัวข้อที่สนใจ เว็บบอร์ดของไทยที่เป็นที่นิยมและมีคนเข้าไปแสดงความคิดเห็นมากมาย คือ เว็บบอร์ดของพันธ์ทิพย์ (www.pantip.com)
7.  ห้องสนทนา (Chat Room)
ห้องสนทนา คือ การสนทนาออนไลน์อีกประเภทหนึ่ง ที่มีการส่งข้อความสั้นๆ ถึงกัน การเข้าไปสนทนาจำเป็นต้องเข้าไปในเว็บไซต์ที่ให้บริการห้องสนทนาเช่น http://www.sanook.com/ http://www.pantip.com/


 social networks
ความหมาย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุไรรัตน์  ทองคำชื่นวิวัฒน์
คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ปัจจุบันโลกอินเตอร์เน็ตกำลังอยู่ในยุคกลางหรือยุคปลาย ๆ ของ web 2.0 กันแล้ว  จึงทำให้มีเว็บไซต์ในลักษณะ Social Networking Service (SNS) ออกมามากมาย  เป็นบริการผ่านเว็บไซต์ที่เป็นจุดโยงระหว่างบุคคลแต่ละคนที่มีเครือข่ายสังคมของตัวเองผ่านเน็ตเวิร์คอินเทอร์เน็ต รวมทั้งเชื่อมโยงบริการต่างๆ อย่างเมล เมสเซ็นเจอร์ เว็บบอร์ด บล็อก ฯลฯ เข้าด้วยกันตั้งแต่ Hi5, MySpace, Facebook, Bebo, LinkedIn, Multiply, Ning และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งทั้งหมดจะมีส่วนที่คล้ายกันคือ "การแอ๊ดเพื่อน" ตามหลักการ Friend-Of-A-Friend (FOAF)  โดยปกติแล้วสิ่งที่ SNS ให้บริการพื้นฐานคือ การให้ผู้สนใจสร้าง profile ลงในเว็บ  บางที่อาจอนุญาตให้อัพโหลดไฟล์แบบต่างๆ ไม่ว่าจะภาพ เสียง หรือ คลิปวีดีโอ  จากนั้นก็จะมีเรื่องของการ comment (เม้นต์)  มี Personal Messeage (PM) ให้คุยส่วนตัวกับเพื่อนบางคน และที่ต้องทำก็คือ ไล่อ่าน ไล่เม้นต์ ไปตาม Profile ของคนอื่นเรื่อยๆ
Social Network ยังไม่มีคำไทยเป็นทางการ มีการใช้คำว่า “เครือข่ายสังคม” บ้าง “เครือข่ายมิตรภาพบ้าง” “กลุ่มสังคมออนไลน์” Social Network นี้ถือว่าเป็นเทคโนโลยีอีกอันนึง ที่สามารถช่วยให้เราได้มามีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของคำว่า Social Network นี้จริงๆ แล้วก็คือ Participation หรือ การมีส่วนร่วมด้วยกันได้ทุก ๆ คน (ซึ่งหวังว่าผู้ที่ติดต่อกันเหล่านั้นจะมีแต่ความปรารถนาดี สิ่งที่ดีๆ มอบให้แก่กันและกัน) ถ้าพูดถึง Social Network แล้ว คนที่อยู่ในโลกออนไลน์คงจะรู้จักกันเป็นอย่างดี และก็คงมีอีกหลายคนที่ได้เข้าไปท่องอยู่ในโลกของ Social Network มาแล้ว ถึงแม้ว่า Social Network จะไม่ใช่สิ่งใหม่ในโลกออนไลน์ แต่ก็ยังเป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มคนที่ใช้อินเตอร์เน็ต ทำให้เครือข่ายขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ และจะยังคงแรงต่อไปอีกในอนาคต จากผลการสำรวจจากประเทศสหรัฐอเมริกายืนยันการใช้บริการ Social Network ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี และมาแรงเป็นอันดับต้นๆ ของโลกออนไลน์ ส่วนเว็บไซต์ที่มีจำนวนผู้เข้าชมสูงสุดทั่วโลก ก็เห็นจะเป็น My space, Facebook และ Orkut สำหรับเว็บไซต์ ที่มีเปอร์เซ็นต์เติบโตเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวก็เห็นจะเป็น Facebook แต่สำหรับประเทศไทยที่ฮอตฮิตมากๆ ก็คงจะหนีไม่พ้น Hi5 

ประโยชน์
1.  ด้านสังคม   SNS เป็นการเชื่อมโยงผู้คนเข้าหากัน ซึ่งเป็นความสวยงามที่สุดของอินเทอร์เน็ต SNS รายใหญ่อย่าง Hi5 มีสมาชิกอยู่เกือบ 100 ล้าน account ทั่วโลก บางคนมี "เพื่อน" เป็นหลักหมื่นหลักแสนอยู่ในไซเบอร์สเปซ   SNS ทำให้คนมีตัวตนอยู่ได้บนไซเบอร์สเปซ เพราะจะต้องแสดงความเป็นตัวเองออกมาให้ได้มากที่สุด เพื่อทำให้ Profile น่าสนใจ และมีชีวิตชีวาที่สุด บ้างก็เน้นไปที่การใส่ข้อมูลเนื้อหา blog รูปถ่ายในชีวิตประจำวัน เรื่องราวเพื่อนคนใกล้ตัว บ้างก็เน้นไปที่ลูกเล่นใส่ glitter หรือตัววิ๊ง ๆ เข้าไป สุดท้ายทำให้เชื่อได้ประมาณหนึ่งว่า มีตัวตนอยู่จริงบนโลกมนุษย์
     2.  ด้านการตลาด  จากสถิติการใช้สื่อโฆษณาของอเมริกาที่จัดทำขึ้นโดย eMarketer ได้มีการใช้เงินโฆษณา ผ่าน Social network เพิ่มมากขึ้นกว่า 100% จากปี 2006 เทียบกับ ปี 2007 และมีแนวโน้มที่จะใช้มากขึ้นต่อไปในอนาคต เนื่องจาก ชาวอเมริกันใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับอินเตอร์เน็ตมากกว่าทีวี หรือวิทยุ ส่วนในบางประเทศที่ถูกควบคุม และจำกัดในการโฆษณา เช่น ประเทศจีน และสิงคโปร์ ก็ยังมีการใช้ Social network เป็นอีกช่องทางในการโฆษณา ซึ่งถือเป็นเครื่องยืนยัน ความฮอตฮิต และความแรงของการโฆษณาบน Social Network   การใช้เงินกับสื่อประเภทนี้ยังคงมีการเติบโตที่สูงมาก ซึ่งจากที่คาดการณ์ตัวเลขของปี 2006 จนถึงปี 2010 จะสูงขึ้นมากกว่า 500% ในประเทศสหรัฐอเมริกา และกว่า 600% ทั่วโลก นี่อาจจะเป็นผลมาจากเครือข่ายที่ขยายวงกว้างมากขึ้น และวิวัฒนาการของเทคโนโลยีที่มีลูกเล่น ที่น่าสนใจมากขึ้นให้ผู้ใช้ได้คอยติดตามกัน
           
Social Network ไม่ใช่เป็นเพียงแค่เว็บไซต์ที่แชร์ข้อมูล รูปภาพอีกต่อไป แต่ได้พัฒนามาเป็นที่แนะนำสินค้า และสถานที่ที่สามารถซื้อหาได้ หรือที่รู้จัก กันในนามของ Collaborative Shopping Communities อีกด้วย สมาชิกสามารถแชร์เกี่ยวกับเทรนด์ที่มาแรง แฟชั่น ร้านค้าที่ฮอตฮิต นี่เป็น อีกหนึ่งโอกาสสำหรับนักการตลาดที่สามารถ รู้ถึง ความสนใจ และความต้องการของผู้บริโภคได้ตรง กลุ่มเป้าหมาย ดังนั้น Social Network Shopping เว็บไซต์จึงได้กลายมาเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่น่าจับตามองในโลกของ Social Network  จากการสำรวจ Global Shopping Insight ของบริษัทวิจัย TNS เมื่อมีนาคม 2008 รายงานว่า Social Network Shopping ดูจะเป็นที่นิยมมากในกลุ่มวัยรุ่นและผู้หญิงเพราะส่วน ใหญ่เป็นเทรนด์แฟชั่น และของสวยๆ งามๆ และหากมาดูยอดใช้บริการ Social Network Shopping ในแต่ละประเทศจีน และสเปน เป็นประเทศที่มีอัตราการใช้บริการและความสนใจที่จะใช้บริการ Social Net work Shopping ค่อนข้างสูงกว่าประเทศอื่นๆ  ในไทยก็มีธุรกิจบางธุรกิจก็ได้มีการสร้างเครือข่ายเป็นของตัวเอง อย่างเช่น True ที่สร้าง Minihome หรือ Happyvirus ของดีแทค  ซึ่งอาจเป็นอีกช่องทางใหม่ๆ ที่จะใช้เป็นสื่อโฆษณาต่อไปในอนาคต  เป็นเครื่องมือทางการตลาดจากเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ อีกทั้งยังมีข้อมูลของสมาชิกที่จะทำให้สินค้าและการบริการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี  เช่นเดียวกับการตลาดที่วัดผลได้ และมีความคุ้มค่ากับการลงทุน (Return of Investment) รวมถึง Point of Sale ที่มีผลต่อให้ผู้บริโภคเปลี่ยนจากการซื้อแบรนด์หนึ่งเป็นอีกแบรนด์หนึ่งได้ทันที ณ จุดขาย  และเป็นการขายผ่าน e-Marketplace สำหรับผู้ที่ต้องการจะเปิดเว็บไซต์ หรือเปิดหน้าร้านกับ e-Marketplace ทั้งหลาย ก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยปัจจุบันมีตลาดหลายแห่งที่เปิดให้บริการอยู่ เช่น Tarad.com, Shopping.co.th, Weloveshopping.com เป็นต้น ซึ่งการขายสินค้าผ่าน e-Marketplace นั้นจะต้องเข้าไปเป็นสมาชิกก่อน ส่วนการเลือกใช้บริการเว็บไซต์ร้านค้าสำเร็จรูปก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยประหยัดเวลาการสร้างหน้าร้านได้เช่นกัน    แม้แต่เว็บดังระดับต้นๆ ของเมืองไทยอย่าง sanook.com และ kapook.com ต่างกระโดดเข้าเล่น Hi5 เต็มตัวและเก็บเกี่ยวผลดีจากยอดคนเข้าเว็บที่เพิ่มขึ้นจากช่องทางใหม่ ในขณะที่ pantip.com ที่เคยเป็นตำนานของเว็บและเว็บบอร์ดเมืองไทยก็เดิมพันอนาคตครั้งใหม่ ด้วยการซุ่มเงียบแล้วเปิดตัว Social Network ของตัวเอง
            
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าเว็บไซต์เครือข่ายสังคมจะเป็นช่องทางสร้างโอกาสสำคัญในการเติบโตของโฆษณาออนไลน์ โดยมีจุดแข็ง คือ (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, เม.ย. 2551)
  
     -  สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ  โดยสามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายได้ตามลักษณะของกลุ่มเครือข่ายสังคมที่หลากหลายและซับซ้อน
     -  เป็นการโฆษณาโดยใช้พลังทางเครือข่ายสังคม ซึ่งเป็นลักษณะการบอกต่อปากต่อปาก (Words of Mouth) โดยจะสร้างความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์ผ่านการบอกเล่าของสมาชิกในเครือข่ายสังคม  ทำให้ลูกค้าไม่รู้สึกถูกบังคับให้ต้องรับฟัง
     - ผู้ประกอบการสามารถใช้เว็บเครือข่ายสังคมเป็นเครื่องมือการทำ CRM (Customer Relationship Management) ในงานประชาสัมพันธ์ทางการตลาด  เนื่องจากจะมีการแสดงความคิดเห็นผ่านเว็บ ทำให้ผู้ประกอบการรับรู้ Feedback ของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน 

     3.  ด้านการเมือง   ดังตัวอย่างการใช้สื่อสมัยใหม่ในแข่งขันการเลือกตั้งที่มีส่วนทำให้โอบามาชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 44   ซึ่ง Micah Sifry ผู้ร่วมก่อตั้งบล็อกการเมืองออนไลน์ของสหรัฐฯนาม techpresident.com พูดถึงเรื่องนี้ว่า ทั้งหมดเป็นผลมาจากโอบามามีความเข้าใจเรื่องพลังแห่งเครือข่าย ที่เขาสร้างมาเพื่อสนับสนุนแคมเปญของตัวเอง โดยมองว่า โอบามาเข้าใจเรื่องการดึงพลังขององค์กรอิสระที่จะสามารถสนับสนุนแคมเปญของเขาเองด้วย  นอกจากนี้ David Almacy ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมให้บริการอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายในทำเนียบขาวตั้งแต่เดือนมีนาคม 2005 ถึงเดือนพฤษภาคม ปี 2007 มองว่า โอบามาเข้าใจแนวคิดการสื่อสารระหว่างชุมชนออนไลน์ตั้งแต่แรกเริ่ม ทำให้โอบามาเน้นการส่งข้อความ Twitter แทนที่จะตรวจหน้า Facebook อย่างเดียวทุกวัน และความเข้าใจพลังเรื่องการสื่อสารระหว่างคนหลายชุมชนนี้เองที่ทำให้โอบามาทำแคมเปญได้ดีกว่าแม้คู่แข่งจะใช้กลยุทธ์หาเสียงออนไลน์เช่นเดียวกัน

การใช้งาน
 เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคม สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น ในบริการเครือข่ายสังคมมักจะประกอบไปด้วย การแช็ต ส่งข้อความ ส่งอีเมล วิดีโอ เพลง อัปโหลดรูป บล็อก การทำงานคือ คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลพวกนี้ไว้ในรูปฐานข้อมูล sql ส่วน video หรือ รูปภาพ อาจเก็บเป็น ไฟล์ก็ได้ บริการเครือข่ายสังคมที่เป็นที่นิยมได้แก่ ไฮไฟฟ์ มายสเปซ เฟซบุ๊ก ออร์กัต มัลติพลาย โดยเว็บเหล่านี้มีผู้ใช้มากมาย เช่น เฟสบุ๊คเป็นเว็บไซต์ที่คนไทยใช้มากที่สุด ในขณะที่ออร์กัตเป็นที่นิยมมากที่สุดในประเทศอินเดีย

Webboard
ความหมาย
กระดานสนทนาออนไลน์ หรือที่เราเรียกกันว่า กระดานสนตะพาย, บอร์ดปั้มกระทู้, บอร์ดเกรียน, ดิสกัสบอร์ด (Disgust Board), หอรั่ม ฯลฯ แล้วแต่คนบางจำพวกจะเรียก ซึ่งสถานที่นี้เป็นได้บ้าน ถังขยะ หรือแม้แต่เครื่องจักรกล และมักประกอบไปด้วยเกรียนหลายจำพวก ติ่งหูอีกหลายชนิด พร้อมทั้งโอตาคุอีกนับสิบ ในการเข้ามาปะทะสังสรรค์ ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่บนพื้นฐานการเพิ่มพูนกระทู้ และความมีชื่อเสียของแต่ละคนทั้งสิ้น

ประโยชน์


ประโยชน์ของเวบบอร์ด
1.เป็นสื่อกลางที่เป็นเหมือนเวทีให้คนเข้าไปแสดงความคิดเห็นแบบเสรี ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ก็สามารถเข้าไปแสดงความคิดเห็นได้
2.เป็นสถานที่แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นในทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ โดยคุณสามารถเข้าไปตั้งคำถาม เพื่อไขข้อข้องใจ หรือตอบกระทู้เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ให้แก่คนอื่น

ข้อเสียของเวบบอร์ด
1.สามารถใช้เป็นเครื่องมือของผู้ไม่ประสงค์ดีได้ โดยการโพสท์ข้อความที่ใส่ร้ายผู้อื่น ทำให้เกิดความเสื่อมเสีย โพสท์ข้อความและรูปลามก อนาจาร หรือข้อความที่ยุยงส่งเสริมให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกับผู้อื่น ฯลฯ
2.สามารถใช้เป็นช่องทางหากินของมิจฉาชีพได้
3.ใช้เป็นที่ระบายอารมณ์จนเกินขอบเขต กลายเป็นเรื่องไร้สาระ และผู้ส่งข้อความไม่แสดงความรับผิดชอบต่อข้อความนั้น \
4.การใช้เวบบอร์ดในทางที่ผิด ส่งผลให้เกิดการหมกมุ่น หรือใช้เวลากับเวบบอร์ดมากจนเกินความจำเป็น เป็นการเสียเวลา และส่งผลเสียกับผู้ใช้ในหลายๆ ด้าน

การใช้งาน
การใช้เวบบอร์ด
1. เมื่อเข้าไปในหน้าเวบบอร์ดแล้ว สามารถเข้าไปตั้งกระทู้ใหม่ได้ โดยคลิกเข้าไปที่ ตั้งกระทู้ใหม่ แล้วพิมพ์ข้อความ ถ้าต้องการโพสท์รูปภาพให้คลิกที่ Browse แล้วเลือกไฟล์ภาพที่ต้องการ บางเวบไซต์ต้องสมัครสมาชิกก่อนจึงจะสามารถโพสท์รูปได้
2. วิธีการตอบกระทู้ ให้คลิกเข้าไปที่กระทู้นั้นๆ จะปรากฏหน้าจอให้เข้าไปโพสท์ข้อความได้ เมื่อพิมพ์ข้อความเสร็จให้คลิกที่ปุ่ม ส่งข้อความ ข้อความของคุณจะถูกส่งขึ้นไปในเวบบอร์ดโดยอัตโนมัติ

Msn Chat
ความหมาย
คือ โปรแกรมส่งข้อความข้าม ระบบเน็ทเวิร์ค แบบทันทีทันใด หรือภาษาฝรั่งเรียกว่า IM (Instant Messenger) ถ้าคุณเคยเล่นโปรแกรม ICQ IRC หรือ Pirch ก็เข้าข่ายเป็นโปรแกรมพวกเดียวกัน 

ประโยชน์
ถ้าแชทไปเรื่อยเปื่อยคงไม่มีประโยชน์ แต่ที่ได้ผลดีคือ แชทเฉพาะทางครับ เช่นด้านวิศวกรรม คณิตศาสตร์ ปัญหาที่ต้องการด่วน เช่นมีเพื่อนในกลุ่ม ที่เก่งเฉพาะเรื่อง ก็เข้าไปถามคนนั้น คุยกับเขาให้เข้าใจ แล้วมาทำอะไรๆ เทคโนโลยี ถ้าใช้ในทางที่สร้างสรรค์นั้นมีประโยชน์ เสมอ อินเตอร์เน็ตเป็นลู่ทางใหม่ทางการค้า เพราะผู้ขายสามารถประกอบธุรกิจทางการค้าผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ลูกค้าสามารถชมภาพ และรายละเอียดของสินค้าเพื่อใช้ในการตัดสินใจได้ทันที ณ เครื่องของลูกค้าเอง ผู้ขายเพียงแค่จัดเตรียมข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ของตน ก็สามารถบริการขายลูกค้าได้ทั่วโลกพร้อม ๆ กัน โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการประชาสัมพันธ์มากเท่าวิธีอื่น สามารถซื้อสินค้าและชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตได้โดยตรง เพียงแต่ลูกค้าจะต้องมีบัตรเครดิต เมื่อสั่งซื้อสินค้าต่าง ๆ ก็กรอกหมายเลขบัตร แล้วระบุสินค้าที่ต้องการ จากนั้นสินค้าจะถูกส่งมาทางไปรษณีย์ และเงินจะถูกหักจากบัญชีเครดิต

การใช้งาน
วิธีใช้ MSN
หลังจากที่ Download แล้วก็ ติดตั้งโปรแกรมเป็นที่เรียบร้อย ทีนี้ดูวิธีใช้กันเลยนะครับ เอาแบบย่อๆ พอเล่นเป็นก็พอ ยาวไปเดี๋ยวไม่ได้เล่น กันพอดี อีกอย่างเดี๋ยวผมไม่มีไรเขียนด้วย เหอๆ คลิกเปิดโปรแกรมขึ้นมากันได้เลย คุณจะพบกับ หน้าตาของโปรแกรมดังรูปที่ 1
- กดปุ่ม File ที่เมนูด้านบน แล้วคลิก Sign-In เราจะพบกับ วินโดวส์ .Net Messenger Service
- ใส่ E-mail address ของเรา พร้อมกับ Password ถ้าเราต้องการให้ Sign In อัตโนมัติทุกครังโดยที่ไม่ต้องมานั่ง Sign-In ให้ ใส่เครื่องหมายถูกหน้า Sign me in autometically ได้เลย แนะนำถ้าใช้คอมพิวเตอร์แบบเน็ตคาเฟ่ อย่าติ๊กนะครับ
- กดปุ่ม Ok ทำการ Sign-in ได้เลย เย้
- พอ Sign-In สำเร็จ ก็จะเจอหน้าตาโปรแกรม (รูปที่ 3) จะเห็นว่า ยังไม่มีใคร อยู่ในลิสต์เราเลย ทีนี้ถ้าเรามีเพื่อนเล่น msn อยู่แล้ว ก็ Add เลยครับ
- กดปุ่ม Contacts>Add a Contact (รูปที่ 4) คลิกที่ อันแรก By e-mail address... แล้วคลิก Next>
- ใส่ e-mail address ของเพื่อนเราได้เลยครับ แล้วคลิก Next>
- โปรแกรมจะแจ้งว่าได้ add ชื่อเพื่อนเราแล้ว คลิก Finish เป็นอันเรียบร้อย
- ถ้าเพื่อนๆ เรา online/offline อยู่ เราก็จะเห็นชื่อเพื่อนเรา online (ตัวเขียวๆ) offline(ตัวแดงๆ)
- เราสามารถ Click ที่ รูปจดหมายเพื่อลิงค์ไปที่ ตู้จดหมายใน hotmail ของเราได้เลย
- ดับเบิ้ลคลิกที่ชื่อเพื่อนเราเพื่อนเปิดวินโดวส์เพื่อจะส่งข้อความ
- เราจะพบ วินโดวส์อีกอันปรากฎขึ้นมา ทีนี้เราก็พิมพ์ข้อความ ในช่องพิมพ์ข้อความแล้วคลิกปุ่ม Send ได้เลย
- เราสามารถใส่ Smiley Icon หรือ Emoticon ได้เลย โดยคลิกที่รูปหน้ายิ้มๆ นั่นแหละ แล้วเลือกเอาเลยครับ
- เปลี่ยน Background ก็ย่อมได้ ลองดูแล้วจะรู้ว่า เจ้า msn v.6 มันเยี่ยมจริงๆ
- ถ้าเพื่อนเราใช้ msn v.6 เหมือนกัน เราก็จะเห็นรูปของเพื่อนเราครับ ซึ่งอีกฝ่ายหนึ่งก็จะเห็นรูปเราด้วย ถ้าไม่ชอบใจก็เปลี่ยนรูปได้ทุกเวลา โดยคลิกที่ รูปของเราได้เลย!
- ส่วน ลูกเล่นอื่นๆ ก็ลองกันดูนะครับ บอกหมด เดี๋ยวไม่ฉลาดกันพอดี เหอๆ แต่ถ้าลองแล้วติดปัญหาอย่างไรก็ เจอกันในเวบบอร์ดได้ครับผม
youtube
ความหมาย
  YouTube (ยูทูบ) เป็นเว็บไซต์แลกเปลี่ยนภาพวิดีโอที่มีชื่อเสียง(www.youtube.com) โดยในเว็บไซต์นี้ ผู้ใช้สามารถอัพโหลดภาพวิดีโอเข้าไป เปิดดูภาพวิดีโอที่มีอยู่ และแบ่งภาพวิดีโอ เหล่านี้ให้คนอื่นดูได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ  ใน YouTube จะมีข้อมูลเนื้อหารวมถึงคลิปภาพยนตร์สั้นๆ และคลิปที่มาจากรายการโทรทัศน์ มิวสิกวิดีโอ และวิดีโอบล็อกกิ้ง (ซึ่งเป็นการสร้างบล็อกโดยมีส่วนของข้อมูลที่เป็นภาพ วิดีโอเป็นส่วนประกอบ โดยเฉพาะเป็นภาพวิดีโอที่เกิดจากมือสมัครเล่นถ่ายกันเอง) คลิปวิดีโอที่เผยแพร่อยู่บนเว็บไซต์ YouTube ส่วนมากเป็นไฟล์คลิปสั้นๆ ประมาณ 1 - 10 นาที ถ่ายทำโดยประชาชนทั่วไป แล้วอัพโหลดขึ้นสู่เว็บไซต์ของ YouTube โดยมีการแบ่งประเภทและจัดอันดับคลิปเอาไว้ด้วย เช่น ไฟล์ล่าสุด, ไฟล์ที่มีผู้ชมมากที่สุด, ไฟล์ที่ได้รับการโหวตมากที่สุด ฯลฯ
         YouTube เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการวิดีโอผ่านอินเทอร์เน็ตที่มียอดผู้ชมวิดีโอของทางเว็บไซต์ทะลุหลัก 100 ล้านครั้งต่อวัน หรือคิดเป็นราว 29 เปอร์เซ็นต์ของยอดการเปิดดูคลิปวิดีโอทั้งหมดในสหรัฐฯ ในแต่ละเดือนมีผู้อัพโหลดวิดีโอขึ้นเว็บกว่า 65,000 เรื่อง
          สถิติจาก Nielsen/NetRatings ซึ่งเป็นผู้นำวิจัยการตลาดและสื่่ออินเตอร์ระดับโลกระบุว่า ปัจจุบัน YouTube มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเดือนละ 20 ล้านคน นอกจากนี้ ในปี 2006 นิตยสารไทม์ ยกย่องให้เว็บไซต์ YouTube เว็บไซต์ให้บริการดาวน์โหลดไฟล์วิดีโอชื่อดัง เป็น "Invention of the Year" หรือรางวัลสิ่งประดิษฐ์แห่งปี อีกด้วย

ประโยชน์

1.ดูได้ทุกที่ทุกเวลา
2.แลกเปลี่ยนคลิปวิดีโอกันได้ทั่วโลก
3.สร้างสถานีโทรทัศน์ด้วยตัวเองได้
4.สะดวกในการอธิบายข้อมูลต่างๆในรูปแบบวิดีโอแทน
5.ลดค่าใช้จ่ายในการทำสื่อโฆษณาผ่านเว็บไซต์
6.ความบันเทิงรูปแบบใหม่

การใช้งาน
ขวามือก็จะมือทิป เล็กๆน้อยๆ สำหรับการดาวน์โหลด หรือ การใช้งานยูทูป
อาจจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่ต้องการศึกษาบ้าง
ข้อจำกัด
YouTube ได้สร้างกฎเหล็กขึ้นมาว่า "ความยาวของคลิปวิดีโอที่สามารถอัพโหลดไว้บนเว็บ YouTube นั้นจะต้องไม่เกิน 10 นาที" และ "ไม่สามารถนำคลิปวิดีโอที่มีลิขสิทธิ์มาโพสต์ในนี้ได้ นอกจากผู้ที่โพสต์จะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์คลิปเหล่านั้นเอง



 

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับอินเตอร์เนต

ความหมาย


อินเตอร์เนต คืออะไร
อินเตอร์เน็ต(Internet) คือ กลุ่มของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมโยงติดต่อเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานเดียวกัน อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งเรียนรู้ขนาดใหญ่ ที่รวบรวมความรู้ทุกๆด้านให้ผู้ที่ต้องการค้นคว้าหาข้อมูลเข้าไปค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังห้องสมุดด้วยตนเอง


แผนผังการเชื่อมต่ออินเตอร์เนต




ประวัติความเป็นมา

ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตในต่างประเทศ
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตถือกำเนิดมาในยุคสงครามเย็น  ระหว่างสหรัฐกับรัฐเซีย ในปี ค.ศ. 1960  
- อินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นโครงการของ ARPAnet (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD)
- ค.ศ.1960 (พ.ศ.2503) ARPA ได้ถูกก่อตั้งและได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
- ค.ศ.1969 (พ.ศ.2512) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีค.ศ.1969(พ.ศ.2512)นี้เองที่ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิด จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ให้แก่ หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในInternet, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น
- ค.ศ.1983 (พ.ศ.2526) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตุได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง
- การกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ ค.ศ.1986 (พ.ศ.2529) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น
- DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง
- ค.ศ.1980 (พ.ศ.2533) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน

ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

- พ.ศ. 2530 ประเทศไทยได้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายเตอร์เน็ตครั้งแรก โดยมีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในออสเตรเลีย แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากการส่งข้อมูลล่าช้า
- พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (Nectect) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมมือกันเช่าสายโทรศัพท์เพื่อต่อพ่วงคอมพิวเตอร์แต่ละสถาบันเข้าด้วยกัน โดยเรียกเครือข่ายสมัยนั้นว่า "เครือข่ายไทยสาร"
- พ.ศ. 2537 เครือข่ายไทยสารเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และมีหน่วยงานต่างๆของราชการเข้ามาเชื่อมต่อในเครือข่ายมากขึ้นเรื่อยๆ และต่อมาทางหน่วยงานเอกชนมีความต้องการใช้บริการมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชนเปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่บิษัทต่างๆ หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจ โดยเรียกบริษัทเอกชนที่ให้บริการทางอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ว่า ISP (Internet Service Provider)
ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก

การทำงาน การเชื่อมต่อ ต่างๆ

การทำงาน

    การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ 0 จนถึง 255 เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย
โดเมนเนม (Domain name system :DNS)
เนื่องจากการติดต่อสื่อสารกันกันในระบบอินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP เพื่อสื่อสารกัน โดยจะต้องมี IP address ในการอ้างอิงเสมอ แต่ IP address นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจำผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่ IP address ซึ่งสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น IP address คือ 203.183.233.6 แทนที่ด้วยชื่อ dusit.ac.th ผู้ใช้งานสามารถ จดจำชื่อ dusit.ac.th ได้ง่ายกว่า การจำตัวเลข
โดเมนที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก ที่ถือว่าเป็นโดเมนสากล มีดังนี้ คือ
.com ย่อมาจาก commercial สำหรับธุรกิจ
.edu ย่อมาจาก education สำหรับการศึกษา
.int ย่อมาจาก International Organization สำหรับองค์กรนานาชาติ
.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
การขอจดทะเบียนโดเมน
การขอจดทะเบียนโดเมนต้องเข้าไปจะทะเบียนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ ชื่อโดเมนที่ขอจดนั้นไม่สามารถซ้ำกับชื่อที่มีอยู่เดิม เราสามารถตรวจสอบได้ว่ามีชื่อโดเมนนั้นๆ หรือยังได้จากหน่วยงานที่เราจะเข้าไปจดทะเบียน
การขอจดทะเบียนโดเมน มี 2 วิธี ด้วยกัน คือ
1. การขอจดะเบียนให้เป็นโดเมนสากล (.com .edu .int .org .net ) ต้องขอจดทะเบียนกับ www.networksolution.com ซึ่งเดิม คือ www.internic.net
2. การขอทดทะเบียนที่ลงท้ายด้วย .th (Thailand)ต้องจดทะเบียนกับ www.thnic.net
โดเมนเนมที่ลงท้าย ด้วย .th ประกอบด้วย
ac.th ย่อมาจาก Academic Thailand สำหรับสถานศึกษาในประเทศไทย
.co.th ย่อมาจาก Company Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจในประเทศไทย
.go.th ย่อมาจาก Government Thailand สำหรับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล
.net.th ย่อมาจาก Network Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจด้านเครือข่าย
.or.th ย่อมาจาก Organization Thailand สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
.in.th ย่อมาจาก Individual Thailand สำหรับของบุคคลทั่วๆ ไป

การเชื่อมต่อ
1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection)
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรายบุคคล คือ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน (Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้ งานอินเทอร์เน็ตได้

องค์ประกอบของการใช้อินเทอร์เน็ตรายบุคคล
1. โทรศัพท์
2. เครื่องคอมพิวเตอร์
3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน
4. โมเด็ม (Modem)
โมเด็ม คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณ เนื่องจากสัญญาณในคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณดิจิทัล (Digital) แต่สัญญาณเสียงในระบบโทรศัพท์เป็นสัญญาณอนาล็อก (Analog) ดังนั้นเมื่อต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตจึงต้องใช้โมเด็มเพื่อเป็นอุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อกตามสายโทรศัพท์ และแปลงกลับจากสัญญาณอนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิทัล เมื่อถึงปลายทาง
ความเร็วของโมเด็มมีหน่วยเป็น บิตต่อวินาที (bit per second : bps) หมายความว่า ในหนึ่งวินาที จะมีข้อมูลถูกส่งออกไป หรือรับเข้ามากี่บิต เช่น โมเด็มที่มีความเร็ว 56 Kpbs จะสามารถ รับ-ส่งข้อมูลได้ 56 กิโลบิตในหนึ่งวินาที
โมเด็มสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท คือ
            1. โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (External modem)
เป็นโมเด็มที่ติดตั้งกับคอมพิวเตอร์ภายนอก สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก เพราะในปัจจุบันการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์จะผ่าน USB พอร์ต (Universal Serial Bus) ซึ่งเป็นพอร์ตที่นิยมใช้กันมาก ราคาของโมเด็มภายนอกไม่สูงมากนัก แต่จะยังมีราคาสูงกว่าโมเด็มแบบติดตั้งภายใน รูปที่ 6.3 แสดงโมเด็มภายนอก
              2. โมเด็มแบบติดตั้งภายใน (Internal modem)
         เป็นโมเด็มที่เป็นการ์ดคอมพิวเตอร์ที่ต้องติดตั้งเข้าไปกับแผงวงจรหลักหรือเมนบอร์ด (main board) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็มประเภทนี้จะมีราคาถูกว่าโมเด็มแบบติดตั้งภายนอก เวลาติดตั้งต้องอาศัยความชำนาญในการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ และติดตั้งไปกับแผงวงจรหลัก
3. โมเด็มสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note Book Computer) อาจเรียกสั้นๆว่า PCMCIA modem

2. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection)
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กรนี้จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นของตัวเอง ซึ่งเครือข่าย LAN นี้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) ดังนั้น บุคลากรในหน่วยงานจึงสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านระบบ LAN ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ (Connection) เหมือนผู้ใช้รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet)
1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็ม ชนิด PCMCIA ของ PCT ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้
2. การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet)
1. WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเทอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
2. GPRS (General Packet Radio Service) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย
               3. โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbps ซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เพียง 56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย
4. เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สายบลูธูทเพื่อใช้ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี
3. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก(Note book) และ เครื่องปาล์ม (Palm) ผ่าน โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS
โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
http://vclass.mgt.psu.ac.th/~465-302/2006-2/Assignment-02/BPA_29_08_2/page_4.htm



ไอพีแอดเดรส (IP Address)
 



เมื่อเราต้องการสื่อสารกันเราจะต้องรู้จักชื่อ ที่อยู่ของผู้ที่จะติดต่อด้วยในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องเข้าด้วยกัน ฉะนั้นจึงจะต้องมีการกำหนดชื่อหรือเลขประจำเครื่องที่ไม่ซ้ำกันกับเครื่องอื่นๆ ซึ่งรูปแบบการกำหนดเช่นนี้ เรียกว่า ไอพีแอดเดรส (IP Address) โดยไอพีแอดเดส ในปัจจุบัน จะใช้อยู่ 2 มาตรฐาน คือ IPV4 และ IPV6 ยกตัวอย่าง เช่น ไอพีแอดเดรส มาตรฐาน IPV4 ประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด คั่นด้วย (.) เช่น 61.35.42.11 แทน หมายเลขเครื่อง 1 เครื่องในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สำหรับผู้ที่ควบคุมและจัดสรรหมายเลขไอพีแอดเดรสเพื่อไม่ให้ซ้ำกัน เราเรียกองค์กรนั้นว่า อินเตอร์นิก (InterNIC)




โดเมนเนม (Domain Name)
 


โดเมนเนม คือ ระบบที่นำอักษรมาใช้แทนไอพีแอดเดรสที่เป็นตัวเลขของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ยากต่อการจดจำ โดยแต่ละโดเมนจะต้องไม่ซ้ำกันเช่นเดียวกับไอพีแอดเดรส การตั้งชื่อโดเมนนิยมตั้งชื่อให้สะดวกต่อการจดจำ เช่น google.co.th เป็นต้น
ความรู้เกี่ยวกับ Domain
โดเมนเนม ประกอบด้วย ชื่อองค์กร  .  ส่วนขยายบอกประเภทองค์กร  .  ส่วนขยายบอกประเทศ  เช่น
google.co.th  ประกอบด้วย  google แทน บริษัท Google   .   co  ย่อมาจาก  commercial (องค์กรเอกชน)   .  th  ย่อมาจาก  thailand  เป็นต้น
อื่นๆ   เช่น  sisaket.go.th  ประกอบด้วย  sisaket แทน จังหวัดศรีสะเกษ  .  go  แทน  Goverment (ราชการ) . th  ประเทศไทย
ตัวอย่างส่วนขยายองค์กร  เช่น  ac , edu  แทน  สถาบันทางการศึกษา   net  แทน  องค์กรที่ให้บริการเครือข่ายทั่วไป
ตัวอย่างส่วนขยายประเทศ  เช่น  th : ไทย , uk : อังกฤษ , jp : ญี่ปุ่น, fr : ฝรั่งเศส , de : เยอรมันนี , ca : แคนาดา  เป็นต้น


http://school.obec.go.th/phusing/html/chapter1.htm

อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยที่เรียกว่า  แคมปัสเน็ตเวิร์ก  (Campus Network)  ในปี พ.ศ.  2530  โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตหาดใหญ่  และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย  หรือ AIT ภายใต้ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย
ในปี พ.ศ.  2531  ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตหาดใหญ่  ได้ยื่นขอที่อยู่อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย  ซึ่งก็ได้รับที่อยู่  Sritrang.psu.th  ซึ่งเป็นที่อยู่อินเตอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย
หลังจากนั้นก็ได้มีการใช้งานอินเตอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด  24  ชั่วโมง  เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก  ในเดือนกรกฎาคม  พ.ศ.  2535  โดยสถาบันวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร  สื่อสารความเร็ว  9,600  บิตต่อวินาที  จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย

บริการที่มีในอินเตอร์เน็ต
                       
 บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีแหล่งที่ให้บริการข้อมูล  ข่าวสาร  บทความ  รายงาน  ผลงานวิจัยและความบันเทิงด้านต่างๆ รูปแบบการให้บริการบนอินเตอร์เน็ตมีดังนี้
                        1.  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  (Electronic Mail : E-Mail)  เป็นการรับ-ส่งจดหมายถึงกัน  ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์จะทำงานให้เองโดยอัตโนมัติ  ทำให้เกิดความสะดวก  รวดเร็ว  สามารถติดต่อกันได้ทั่วโลก  ลักษณะการส่งเอกสารข้อความมีลักษณะเหมือนการส่งจดหมายทั่วไป  โดยผู้ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีที่อยู่ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  (E-Mail address)  เช่น                                     mjeeb@oho.ipst.ac.th อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน , webmaster@thaigoodview.com อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน   ในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นี้ผู้ใช้สามารถส่งแฟ้มข้อมูลแนบไปกับจดหมายได้ด้วย
                        2.  การถ่ายโอนข้อมูล  (File Transfer Protocol : FTP)  เป็นบริการถ่ายโอนข้อมูล  ข่าวสาร  บทความรวมถึงแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งสู่อีกเครื่องหนึ่ง  ในกรณีที่โอนย้ายข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นลงมาในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเรียกว่า  ดาวน์โหลด  (download)  ส่วนการนำข้อมูลจากเครื่องของเราไปไว้ยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น  เรียกว่า  อัพโหลด  (upload)
                        3.  การเรียกใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น  (telnet)  ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในที่ห่างไกล  โดยไม่ต้องเดินทางไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ
                        4.  โกเฟอร์  (gopher)  บริการค้นหาไฟล์และฐานข้อมูล  เป็นบริการที่คล้ายกับ  FTP  แต่การจัดเก็บสาระบนรายการแฟ้มข้อมูล  และไอคอนของโกเฟอร์จะมีความเป็นระเบียบและแสดงรายละเอียดที่ดีกว่า  ซึ่งคล้ายกับการจัดตู้บัตรรายการในห้องสมุดที่สามารถค้นหาข้อมูล  โดยการระบุชื่อผู้แต่ง  ชื่อเรื่อง  ชื่อที่เกี่ยวข้อง
                        5.   ข่าวสาร  (Usenet)  เป็นการจัดเก็บข่าวสารที่ส่งไปไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลาง  โดยที่ทุกคนสามารถเข้าไปอ่านข่าวสาร  มีการจัดกลุ่มและแลกเปลี่ยนทัศนะและแสดงความคิดเห็นในหัวข้อต่างๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต
                        6.  เวิลด์ไวด์เว็บ  (World Wide Web : WWW)  เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลข่าวสารเข้าหากันและครอบคลุมทั่วโลก  ลักษณะของข้อมูลที่สืบค้นได้จะเป็นเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์ที่สร้างด้วยภาษา  HTML  (Hypertext Markup Language)  ซึ่งประกอบด้วยข้อความ  ภาพ  เสียง  ภาพเคลื่อนไหว  บริการนี้ได้รับความนิยมแพร่หลายในปัจจุบัน  การเข้าถึงข้อมูลแต่ละแห่งเปรียบเสมือนการเยี่ยมบ้านของแต่ละคน  เราจึงมักได้ยินคำว่า  โฮมเพจ (Homepage) หรือบ้านของแหล่งข้อมูลแต่ละแห่งและสามารถเชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บเพจ (Webpage) อื่นๆ ได้อีก
                        7.  การสนทนา  (Chat)  การสนทนา  แลกเปลี่ยนข้อมูล  ความคิดเห็น  ซึ่งสนทนาผ่านการพิมพ์ข้อความ  รับ-ส่ง  แฟ้มข้อมูล  สนทนาด้วยเสียง  และติดตั้งกล้องเพื่อให้เห็นภาพคู่สนทนาด้วย

ที่อยู่เวป

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับ search engine

search engine

ความหมาย
เสิร์ชเอนจิน (search engine) คือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย. เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป

ประเภทของ search engine

Search Engine มีกี่ประเภท ?
Search Engine มี?3?ประเภท (ในวันที่ทำการศึกษาข้อมูลนี้และได้ทำการรวบรวมข้อมูล ผมสรุปได้?3 ประเภทหลัก) โดยมีหลักการทำงานที่ต่างกัน และ การจัดอันดับการค้นหาข้อมูลก็ต่างกันด้วยครับ เพราะมีลักษณะการทำงานที่ต่างกันนี่เองทำให้ โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะมีการแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ประเภทด้วยกัน แต่ที่พอสรุปได้ก็มีเพียง?3 ประเภทหลัก ๆ ดังที่จะนำเสนอต่อไปนี้ครับ
ประเภทที่ 1 Crawler Based Search Engines
Crawler Based Search Engines คือ เครื่องมือการค้นหาบนอินเตอร์เน็ตแบบอาศัยการบันทึกข้อมูล และ จัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นจำพวก Search Engine ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากให้ผลการค้นหาแม่นยำที่สุด และการประมวลผลการค้นหาสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีบทบาทในการค้นหาข้อมูลมากที่สุดในปัจจุบัน

โดยมีองประกอบหลักเพียง 2 ส่วนด้วยกันคือ1. ฐานข้อมูล โดยส่วนใหญ่แล้ว Crawler Based Search Engine เหล่านี้จะมีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง ที่มีระบบการประมวลผล และ การจัดอันดับที่เฉพาะ เป็นเอกลักษณ์ของตนเองอย่างมาก
2. ซอฟแวร์ คือเครื่องมือหลักสำคัญที่สุดอีกส่วนหนึ่งสำหรับ Serch Engine ประเภทนี้ เนื่องจากต้องอาศัยโปรแกรมเล็ก ๆ (ชนิดที่เรียกว่า จิ๋วแต่แจ๋ว) ทำหน้าที่ในการตรวจหา และ ทำการจัดเก็บข้อมูล หน้าเพจ หรือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ในรูปแบบของการทำสำเนาข้อมูล เหมือนกับต้นฉบับทุกอย่าง ซึ่งเราจะรู้จักกันในนาม Spider หรือ Web Crawler หรือ Search Engine
Robots
ตัวอย่างหนึ่งของ Crawler Based Search Engine ชื่อดัง http://www.google.com


Crawler Based Search Engine ได้แก่อะไรบ้าง
จะยกตัวอย่างคร่าว ๆ ให้ได้เห็นกันเอาแบบที่เรา ๆ ท่าน ๆ รู้จักหนะครับก็ได้แก่? Google , Yahoo, MSN, Live, Search, Technorati (สำหรับ blog)?ครับ ส่วนลักษณะการทำงาน และ การเก็บข้อมูงของ Web Crawler หรือ Robot หรือ Spider นั้นแต่ละแห่งจะมีวิธีการเก็บข้อมูล และ การจัดอันดับข้อมูลที่ต่างกันนะครับ เช่น คุณทำการค้นหาคำว่า “Search Engine คืออะไร” ผ่านทั้ง 5 แห่งที่ผมให้ไว้จะได้ผลการค้นหาที่ต่างกันครับ

ประเภทที่ 2 Web Directory หรือ Blog Directory
Web Directory หรือ Blog Directory คือ สารบัญเว็บไซต์ที่ให้คุณสามารถค้นหาข่าวสารข้อมูล ด้วยหมวดหมู่ข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ในปริมาณมาก ๆ คล้าย ๆ กับสมุดหน้าเหลืองครับ ซึ่งจะมีการสร้าง ดรรชนี มีการระบุหมวดหมู่ อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้การค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ตามหมวดหมู่นั้น ๆ ได้รับการเปรียบเทียบอ้างอิง เพื่อหาข้อเท็จจริงได้ ในขณะที่เราค้นหาข้อมูล เพราะว่าจะมีเว็บไซต์มากมาย หรือ Blog มากมายที่มีเนื้อหาคล้าย ๆ กันในหมวดหมู่เดียวกัน ให้เราเลือกที่จะหาข้อมูลได้ อย่างตรงประเด็นที่สุด (ลดระยะเวลาได้มากในการค้นหา) ซึ่งผมจะขอยกตัวอย่างดังนี้


ODP Web Directory ชื่อดังของโลก ที่มี Search Engine มากมายใช้เป็นฐานข้อมูล Directory
1. ODP หรือ Dmoz ที่หลาย?ๆ คนรู้จัก ซึ่งเป็น Web Directory ที่ใหญ่ที่สุดในโลก Search Engine หลาย ๆ แห่งก็ใช้ข้อมูลจากที่แห่งนี้เกือบทั้งสิ้น เช่น Google, AOL, Yahoo, Netscape และอื่น ๆ อีกมากมาย ODP มีการบันทึกข้อมูลประมาณ 80 ภาษาทั่วโลก รวมถึงภาษาไทยเราด้วยครับ (URL : http://www.dmoz.org )
2. สารบัญเว็บไทย SANOOK ก็เป็น Web Directory ที่มีชื่อเสียงอีกเช่นกัน และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในเมืองไทย (URL : http://webindex.sanook.com )
3. Blog Directory อย่าง BlogFlux Directory ที่มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกมากมายตามหมวดหมู่ต่าง ๆ หรือ Blog Directory อื่น ๆ ที่สามารถหาได้จาก Make Many แห่งนี้ครับ

ประเภทที่ 3 Meta Search Engine
Meta Search Engine คือ Search Engine ที่ใช้หลักการในการค้นหาโดยอาศัย Meta Tag ในภาษา HTML ซึ่งมีการประกาศชุดคำสั่งต่าง ๆ เป็นรูปแบบของ Tex Editor ด้วยภาษา HTML นั่นเองเช่น ชื่อผู้พัฒนา คำค้นหา เจ้าของเว็บ หรือ บล็อก คำอธิบายเว็บหรือบล็อกอย่างย่อ
ผลการค้นหาของ Meta Search Engine นี้มักไม่แม่นยำอย่างที่คิด เนื่องจากบางครั้งผู้ให้บริการหรือ ผู้ออกแบบเว็บสามารถใส่อะไรเข้าไปก็ได้มากมายเพื่อให้เกิดการค้นหาและพบเว็บ หรือ บล็อกของตนเอง และ อีกประการหนึ่งก็คือ มีการอาศัย Search Engine Index Server หลาย?ๆ แห่งมาประมวลผลรวมกัน จึงทำให้ผลการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ไม่เที่ยงตรงเท่าที่ควร.
มาถึงตอนนี้หลาย ๆ ท่านที่เคยสงสัยว่า “Search Engine คืออะไร” คงได้หายสงสัยกันไปบ้างแล้วและเริ่มเข้าใจหลักการทำงานของ Search Engine กันมากขึ้น เพื่อจะได้เลือกใช้อย่างถูกต้องและตรงกับความต้องการของเราในการค้นหาข่าวสารข้อมูล สำหรับบทความ “Search Engine คืออะไร” นี้หากขาดตกบกพร่องประการใด หรือ ไม่ได้รับข้อมูลที่ชัดเจนท่านสามารถติชม หรือ ให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ผ่าน Comments ของบทความชุดนี้เพื่อจะได้ทำการปรับปรุงและแก้ไขให้ได้ข้อมูลที่ดีที่สุดและ เป็นประโยชน์สำหรับ ผู้ที่ทำการค้นคว้างข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้งาน


การใช้งาน

 โดย ปกติแล้วเมื่อจัดทำเว็บไซต์ขึ้นแล้ว จะต้องทำการประชาสัมพันธ์ เว็บไซต์ของเรา ให้เป็นที่รู้จัก เพื่อที่คนจะได้เข้ามาดูข้อมูลที่เราต้องการเผยแพร่ได้
หากเราทำเว็บไซต์ไว้เฉย ๆ โดยไม่มีการประชาสัมพันธ์ หรือ บอกกล่าวกับผู้คน ก็จะทำให้เว็บไซต์เรา เปรียบเสมือน หนังสือ ที่วางไว้เฉยๆ โดยไม่มีคนอ่าน หรือ ทางภาษาทางการตลาดว่า "เว็บตาย"
นั่นเอง
หากเราจะทำเว็บและไม่ได้คิดถึงการทำตลาด การประชาสัมพันธ์ เว็บไซต์ ในด้านต่าง ๆ ก็ไม่มีประโยชน์เท่าใด เพราะถึงทำไปก็ไม่มีคนมาเข้าเว็บไซต์ของเราอยู่ดี ซึ่งการทำตลาดผ่านเว็บไซต์ มีได้ในหลายๆ ช่องทาง ก่อนที่เราจะรู้วิธี การทำการตลาดผ่าน Search Engine เรามาทำความรู้จัก "เว็บไซต์ค้นหา" กันก่อน

การทำ Search Engine มีหลายแบบ ได้แก่
1. การแนะนำผ่าน Search Engine ของต่างประเทศ
เครื่องมือที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดเพื่อการประชาสัมพันธ์หรือโปรโมทเว็บไซต์เปรียบเสมือนคนที่มีความกว้างขวางและคอยแนะนำให้นักท่องเน็ตรู้จักเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยนายโฮสดอทคอมจะแนะนำผ่าน Search Engine ของต่างประเทศ มากถึง 100 แห่ง ซึ่งประกอบด้วย Search Engine ที่ได้รับความนิยมสูงทั้งหลายเช่น yahoo!, altavista, google, go, excite, lycos, powersearch, earthfine, และอื่น ๆ อีกมาก (Search Engine คือ เว็บไซต์ที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งรวบรวมเว็บไซต์อื่น ๆ และสามารถค้นหาเว็บไซต์เป้าหมายได้ด้วยชื่อหมวด Category หรือคำค้น Keyword)

2. การแนะนำผ่าน
Seach engine และเว็บไซต์ไดเร็คตอรี่ของไทย
เว็บไซต์ของคนไทยจำนวนมากที่มีเนื้อหาเป็นภาษาไทยและสร้างขึ้นโดยมีเป้าหมายคือกลุ่มคนไทย ดังนั้นการแนะนำเว็บไซต์ของท่านผ่าน Search Engine สัญชาติไทยจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และรวมไปถึงเว็บไซต์ของไทยรายอื่น ๆ ที่มีลักษณะเป็นไดเร็คตอรี่เพื่อการจัดหมวดหมู่เว็บไซต์อื่นด้วยโดย นายโฮสดอทคอม ได้รวบรวมเว็บไซต์เหล่านี้จำนวนกว่า 100 ไซต์
อาทิ sanook, hunsa, 108-1009, mthai, lemononline, catcha, yumyai, I-kool, thaiwebhunter, siamguru,
thaiseek, thaicast, thaimisc และอื่น ๆ อีกมาก

การทำงานของเว็บไซต์ค้นหา
ก่อนที่เราจะใช้ เว็บไซต์ค้นหา ในการทำตลาดให้กับเว็บไซต์ของเรา เรามาดูวิธีการทำงานของเว็บไซต์ค้นหาต่าง ๆ กันก่อนดีกว่า ปกติแล้วเว็บไซต์ค้นหาจะแบ่งออกเป็น 3 จำพวกนั่นคือ
Search Engine เป็นเว็บไซต์ที่มีเครื่องมือในการที่จะค้นหาเว็บไซต์ต่าง ๆ มาเก็บไว้ในฐานข้อมูลของตัวเองโดยอัตโนมัติ เช่น Google.com หรือ Altavista.com ซึ่งเครื่องมือนี้ มีชื่อเรียกว่า Search Robot จะทำหน้าที่คอยวิ่งเข้าไปอ่านข้อความจากหน้าเว็บไซต์ ของเว็บต่าง ๆ แล้วนำมาจัดลำดับคำค้นหา (Index) ที่มีในเว็บไซต์เหล่านั้น เก็บไว้ในฐานข้อมูลของตนเอง เมื่อเราเข้าไปใช้บริการ กับ Search Engine ต่าง ๆ ก็จะเป็นการไปค้นหาคำต่าง ๆ ที่ Search Engine ได้เก็บรวบรวมไว้แล้วนั่นเอง
Web Directory เป็นเว็บไซต์ค้นหาที่ใช้วิธีการ เพิ่มข้อมูลเข้าไปในฐานข้อมูลของระบบด้วย กำลังคน (มีเจ้าหน้าที่คอยเพิ่มข้อมูลเข้าไป) จะไม่มีการส่ง Robot ออกไปค้นด้วยตนเองแต่อย่างใด ซึ่งการจะนำชื่อเว็บไซต์ของเราให้เข้าไปอยู่ใน Web Directory นี้จะต้องไปทำการเพิ่มชื่อเข้าไปเอง เว็บประเภทนี้ก็เช่น Yahoo.com และ Dmoz.org
Meta Engine เป็นเว็บไซต์ที่ไปค้นหาจากเว็บไซต์ค้นหาอีกที ซึ่งเว็บประเภท Meta Crawler นี้จะทุ่นแรง โดยการนำคำทีต้องการค้น ไปค้นจากเว็บค้นหาประเภทต่าง ๆ และนำมาแสดงรวมกันให้เราดูอีกที ซึ่งก็สะดวกไปอีกแบบหนึ่งครับ เว็บประเภทนี้ก็เช่น Metacrawler.com, Go2net.com และ Thaifind.com
แถมให้ เพิ่มเติม
วิธีการหาข้อมูลที่ต้องการให้พบ

การ หาข้อมูลที่ต้องการให้พบ ไม่ใช่เรื่องยาก หากมีเทคนิคนิด ๆ หน่อย... โดยปกติแล้วการค้นหาข้อมูลที่ต้องการก็เพียงแค่ เราไปใส่คำที่ต้องการค้นหาในเว็บไซต์ค้นหา แล้ว กดปุ่ม สำหรับค้น ก็จะมีข้อมูลต่าง ๆ ออกมาให้เราเลือก ว่าใช่เรื่องที่เราต้องการค้นหาหรือไม่ แต่หากเราใช้คำหลาย ๆ คำเช่น Bronze Sculpture Thailand บางทีอาจจะทำให้เว็บไซต์ค้นหา แสดงผลออกมาได้ไม่ตรงกับความต้องการก็ได้ ซึ่งในเกือบทุก ๆ เว็บไซต์ค้นหา จะยอมรับคำสั่งทั่ว ๆ ไป ในการแสดงผลลัพธ์ ซึ่งหากเรานำคำสั่งเหล่านั้นมาใช้ ก็จะช่วยให้เราค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้เร็ว ซึ่งคำสั่งทั่ว ๆ ไปมีดังนี้ 

AND เป็น คำสั่งให้รวมคำค้นหาที่อยู่ระหว่าง AND เข้าด้วยกัน เช่น Bronze AND Thailand เว็บไซต์ค้นหา จะไปหาหน้าเว็บไซต์ที่มี ทั้งคำว่า Bronze และ Thailand อยู่ในหน้าเดียวกันออกมา วิธีใช้คำสั่งจะสามารถใช้ได้ในหลายรูปแบบดังนี้ Bronze AND Thai, "Bronze Thai", Bronze + Thai, Bronze & Thai
แต่ที่นิยมใช้มากที่สุดจะอยู่ในรูปแบบ Bronze + Thai 
OR เป็น คำสั่งให้เลือกคำใดคำหนึ่ง หรือ ทั้งสองคำมาแสดงผล เช่น Bronze OR Thailand เว็บไซต์ค้นหา จะค้นหาหน้าเว็บไซต์ ที่มีคำว่า Domain หรือ Siam ออกมาแสดงก็ได้ ซึ่งปกติแล้ว ค่าเริ่มต้นของทุก เว็บค้นหา จะเป็น OR อยู่แล้ว วิธีใช้คำสั่งจะสามารถใช้ได้หลายรูปแบบดังนี้
Bronze OR Thailand, Bronze Thailand
แต่ที่นิยมมากที่สุดจะอยู่ในรูปแบบ Bronze Thailand 
NOT เป็นคำสั่งให้ตัดเว็บไซต์ที่มีคำค้นหา ตามหลัง NOT ออกไป เช่น Thailand NOT Bangkok เป็นคำสั่งให้ค้นหาคำว่า Thailand แต่ไม่เอาหน้าที่มีคำว่า Bangkok วิธีใช้คำสั่งจะสามารถใช้ได้หลายรูปแบบดังนี้
Thailand NOT Bangkok, Thailand -Bangkok
แต่ที่นิยมมากที่สุดจะอยู่ในรูปแบบ Thailand -Bangkok
ซึ่ง หากเรานำคำสั่งต่าง ๆ เหล่านี้มาประยุกต์ใช้กับคำค้นหาเรา ก็จะทำให้เราสามารถค้นหาเว็บที่ให้ข้อมูลได้ตรงกับความต้องการภายในเวลารวด เร็ว


web search engine ของไทย



















web search engine ของต่างประเทศ

สัดส่วนของผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกา (ข้อมูลจาก นิตยสารฟอรบส์ ฉบับวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548)
1. กูเกิล (Google) 36.9%
2. ยาฮูเสิร์ช (Yahoo! Search) 30.4%
3. เอ็มเอสเอ็นเสิร์ช (MSN Search) 15.7%

นอกจากด้านบน เว็บอื่น ๆ ที่เป็นที่นิยมได้แก่
- เอโอแอล (AOL Search)
- อาส์ก (Ask)
- เอ 9 (A9)
- ไป่ตู้ (Baidu, 百度) เสิร์ชเอนจิน อันดับ 1 ของประเทศจีน